Hack The Crisis Finance เงินเฟ้อกับการวางแผนทางการเงิน ปัจจัยที่หลายคนอาจลืมนึกถึง

เงินเฟ้อกับการวางแผนทางการเงิน ปัจจัยที่หลายคนอาจลืมนึกถึง

เงินเฟ้อกับการวางแผนทางการเงิน ปัจจัยที่หลายคนอาจลืมนึกถึง post thumbnail image

เคยได้ยินกันไหมว่า ในสมัยพ่อแม่ของเราเป็นเด็ก หรือในสมัยของคุณยาย เขาเคยซื้อก๋วยเตี๋ยวกันชามละบาท ขนมชิ้นละไม่กี่สลึง แต่ในปัจจุบันเราโตมาโดยคุ้นชินกับข้าวกะเพราไข่ดาวราคาจานละ 40-50 บาทแล้ว ทำไมค่าใช้จ่ายในยุคเรากับยุคคุณยายต่างกันขนาดนั้น สิ่งนี้เป็นปรากฏการณ์ที่เรียกว่าเงินเฟ้อนั่นเอง นั่นหมายความว่าในอนาคตเรามีโอกาสที่จะได้ซื้อก๋วยเตี๋ยวชามละร้อยบาท น้ำดื่มขวดละร้อยบาทก็เป็นได้ การวางแผนทางการเงินโดยคำนึงถึงเรื่องเงินเฟ้อเอาไว้ประกอบการตัดสินใจด้วยจึงเป็นสิ่งสำคัญ

เงินเฟ้อเกิดขึ้นได้อย่างไร ทำไมจึงเฟ้อต่อไปได้อีกในระยะยาว

เงินเฟ้อ

หากอธิบายเงินเฟ้ออย่างง่ายที่สุดก็คือ การที่อำนาจซื้อของเงินลดลงอย่างต่อเนื่อง ตามระยะเวลาที่ผ่านไป ทำให้สินค้าและบริการต่าง ๆ ราคาแพงขึ้น ส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันเนื่องจากค่าครองชีพสูงขึ้น และหากมองไปในระยะยาวก็ต้องมีแผนเพิ่มจำนวนเงินเก็บเผื่อไว้สำหรับค่าครองชีพในอนาคตด้วย ซึ่งปัจจัยที่ทำให้เกิดเงินเฟ้อมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับสังคมในด้านอื่น ๆ โดยปัจจัยสำคัญที่ควรรู้ได้แก่

  1. การขาดแคลนทรัพยากร

ทรัพยากรในที่นี้รวมถึงปัจจัยการผลิตทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับระบบเศรษฐกิจ ทำให้กลไกของอุปสงค์และอุปทานไม่สมดุลกัน เมื่ออุปสงค์หรือความต้องการซื้อมีสูง แต่อุปทานหรือทรัพยากรที่ใช้ในการผลิตมีไม่เพียงพอ ทำให้สินค้าต่าง ๆ ต้องปรับราคาสูงขึ้น เช่น แรงงานที่ผลิตสินค้ามีไม่เพียงพอ วัตถุดิบบางชนิดหาได้ยากมากขึ้น ยิ่งในยุคที่สิ่งแวดล้อมเปลี่ยนแปลงจนส่งผลต่อสภาพดินฟ้าอากาศ ในระยะยาวก็จะทำให้ทรัพยากรธรรมชาติหายากมากขึ้น แล้วเงินเฟ้อก็จะมีอัตราสูงขึ้นเรื่อย ๆ ตามไปด้วย

  1. จำนวนเงินในระบบเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นอย่างมาก

เมื่อเศรษฐกิจถดถอยจะมีปรากฏการณ์ที่เรียกว่า สภาวะเงินฝืด ซึ่งเป็นสิ่งที่ตรงกันข้ามกับเงินเฟ้อนั่นเอง ภาครัฐมักมีนโยบายอัดฉีดเงินเข้าไปในระบบมากขึ้น หรือลดอัตราดอกเบี้ยลงเพื่อให้ประชาชนออกมาจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น จนเงินกลับเข้ามาหมุนเวียนในระบบจำนวนมาก ก็จะตรงตามหลักการที่ว่า หากอะไรมีมากและหาง่าย มูลค่าย่อมลดลง ไม่เหมือนกับของที่ยิ่งหายาก ก็จะยิ่งมีมูลค่ามาก เมื่อเศรษฐกิจฟื้นตัวก็จะเข้าสู่ช่วงสภาวะเงินเฟ้ออีกครั้ง กลายเป็นกลไกที่เกิดขึ้นวนเวียนในเศรษฐกิจต่อไปเรื่อย ๆ

  1. เหตุการณ์ไม่คาดฝันต่าง ๆ ที่ทำให้เงินมูลค่าน้อยลง

สถานการณ์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นภาวะโรคระบาดครั้งใหญ่ สงคราม ไปจนถึงวิกฤตสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรง เช่น ภัยแล้งหรือน้ำท่วมครั้งใหญ่ เหตุการณ์เหล่านี้จะส่งผลเป็นห่วงโซ่ต่อระบบเศรษฐกิจไปเรื่อย ๆ จนเกิดปัจจัยเงินเฟ้อตาม 2 ข้อแรกที่กล่าวมานั่นเอง

แล้วจะวางแผนทางการเงินอย่างไรเพื่อรับมือเงินเฟ้อได้บ้าง

อย่างที่กล่าวไปว่า เงินเฟ้อจะทำให้จำนวนเงินเท่าเดิมซื้อของได้น้อยลง การวางแผนการเงินด้วยการตั้งใจออมเงินไว้เพียงอย่างเดียว ไม่เพียงพออย่างแน่นอน เนื่องจากผลตอบแทนที่เราจะได้รับจากดอกเบี้ยเงินฝาก คงไม่พอสำหรับค่าใช้จ่ายจำเป็นในอนาคต เราจึงควรวางแผนการเงินด้วยการมองไปในระยะยาวอย่างรอบคอบ ดังนี้

  1. วางแผนออมเงินโดยเผื่ออัตราเงินเฟ้อ

แม้ผลตอบแทนจากดอกเบี้ยเงินออมจะไม่เพียงพอกับภาวะเงินเฟ้อ แต่การออมเงินเผื่อกรณีฉุกเฉินก็ยังเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับทุกคน อย่างเช่น ในปัจจุบันคุณคิดว่าคุณใช้เงินเดือนละ 30,000 ก็เพียงพอต่อค่าใช้จ่ายที่จำเป็นแล้ว ให้คิดต่อเผื่ออัตราเงินเฟ้อ ซึ่งโดยเฉลี่ยมักจะเพิ่มขึ้น 3% ต่อปี เราจึงต้องคำนวณจำนวนเงินที่เราจะใช้ในอนาคตโดยมีอัตรา 3% นี้เข้าไปอยู่ในสูตรแผนการเงินของเราด้วย ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์การออมที่แตกต่างกัน โดยเฉพาะการวางแผนเพื่อการเกษียณอายุ ซึ่งเป็นแผนการเงินระยะยาว จำเป็นต้องเผื่ออัตราเงินเฟ้อไว้ด้วยเสมอ

  1. วางแผนเรื่องหนี้สินอย่างรอบคอบ ไม่ก่อหนี้ดอกเบี้ยสูงโดยไม่จำเป็น

ทุกวันนี้การเป็นหนี้ไม่ใช่เรื่องไม่ดี บางครั้งการเป็นหนี้ก็เป็นไปเพื่อการลงทุน เช่น การกู้ยืมเพื่อลงทุนในธุรกิจ การกู้ยืมเพื่อที่อยู่อาศัย การกู้ยืมเพื่อการศึกษา เป็นต้น โดยเงินเฟ้อจะส่งผลต่ออัตราดอกเบี้ยของหนี้สินในอนาคต ก่อนสร้างหนี้จึงควรคำนวณอย่างรอบคอบ ต้องไม่ก่อหนี้เสียที่ไม่จำเป็น อย่างหนี้เพื่อการบริโภค หรือเพื่อซื้อสินค้าฟุ่มเฟือย เพราะจะส่งผลต่อจำนวนเงินที่เราต้องจ่ายคืนเจ้าหนี้ในอนาคต

  1. ศึกษาและวางแผนการลงทุน เพื่อให้ผลตอบแทนชนะอัตราเงินเฟ้อ

สิ่งที่สามารถทำให้เรามีความยั่งยืนทางการเงินได้คือการลงทุน เนื่องจากผลตอบแทนจากการลงทุน มักจะช่วยเพิ่มมูลค่าของเงินได้ตามอัตราเงินเฟ้อ หรือค่าครองชีพ โดยเฉพาะการลงทุนระยะยาวที่มักให้ผลตอบแทนชนะเงินเฟ้อได้ ในขณะเดียวกันก็ควรศึกษาการลงทุนให้ดีก่อน เนื่องจากการลงทุนทุกประเภทมีความเสี่ยง ควรเลือกลงทุนเฉพาะกับสินทรัพย์ที่คุณเข้าใจและยอมรับความเสี่ยงได้

เงินเฟ้อเป็นปัจจัยหนึ่งที่จำเป็นต้องนำเข้าไปอยู่ในการวางแผนการเงิน ไปจนถึงการวางแผนเพื่อการเกษียณ เพราะเราไม่รู้เลยว่า เมื่อเราเกษียณแล้วเงินเฟ้อจะมีอัตราอยู่ที่เท่าไร เงินจำนวนที่เราคิดว่าจะใช้หลังการเกษียณจะเพียงพอต่อค่าครองชีพในช่วงนั้นหรือเปล่า จึงต้องวางแผนการเงินให้รอบคอบโดยเผื่อปัจจัยเรื่องนี้เข้าไปด้วยนั่นเอง

Related Post

รับขายฝากที่ดินทั่วประเทศ

รับขายฝากที่ดินทั่วประเทศก่อนใช้บริการตรวจสอบดีแล้วหรือยัง? รับขายฝากที่ดินทั่วประเทศก่อนใช้บริการตรวจสอบดีแล้วหรือยัง? 

แน่นอนว่าหากตอนนี้คุณต้องการเงินสดทางเลือกที่ช่วยให้คุณไม่ต้องจ่ายอัตราดอกเบี้ยสูงๆ ไม่ต้องเสียเวลายื่นกู้กับทางธนาคารหรือมีสินทรัพย์อยู่ในมือ ไม่มีอะไรดีไปกว่าการใช้บริการรับขายฝากที่ดิน แต่มั่นใจแล้วจริง ๆ หรือว่าเลือกได้อย่างถูกต้อง เพราะอาจมีความเป็นไปได้ว่าบริษัทรับขายฝากที่ดินทั่วประเทศที่คุณเลือกอาจไม่ได้มาตรฐานอย่างที่คิด ดังนั้นเพื่อให้แน่ใจเราจะพาไปดูว่าต้องตรวจสอบองค์ประกอบอะไรบ้างก่อนใช้บริการ  รับขายฝากที่ดินทั่วประเทศกับสิ่งที่ต้องทำการตรวจสอบก่อนตัดสินใจใช้บริการ  หากอยากมั่นใจว่าจะไม่เสียดอกเบี้ยสูงกว่า 15% ต่อปีหรือได้วงเงินต่ำกว่า 40% จำเป็นต้องเลือกบริษัทรับขายฝากที่ดินทั่วประเทศที่ได้มาตรฐาน ด้วยองค์ประกอบดังต่อไปนี้   1. การจดทะเบียนนิติบุคคล   การรับขายฝากเป็นหนึ่งในธุรกิจการค้าที่จำเป็นต้องมีการจดทะเบียนนิติบุคคล เพื่อให้แน่ใจว่าผู้ที่เข้ามาใช้บริการสามารถตรวจสอบความโปร่งใสหรือความน่าเชื่อถือของบริษัทนั้น ๆ ได้ ดังนั้นก่อนเลือกใช้บริการขอแนะนำให้ลองเข้าไปที่เว็บไซต์ DBD DataWarehouse+ เพื่อทำการเช็กว่ามีการจดทะเบียนนิติบุคคลหรือไม่ด้วย   2. การแจกแจงข้อมูลต่าง ๆ ต้องมีความชัดเจน ตรงประเด็นและโปร่งใส 

สินค้าโภคภัณฑ์

ปัจจัยที่ส่งผลต่อราคาสินค้าโภคภัณฑ์มีอะไรบ้างปัจจัยที่ส่งผลต่อราคาสินค้าโภคภัณฑ์มีอะไรบ้าง

ความสนใจในการลงทุนกับสินค้าโภคภัณฑ์มีเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากราคาสินค้าโภคภัณฑ์มีความเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา อีกทั้งสินค้าในกลุ่มนี้ยังมีให้เลือกลงทุนหลากหลายประเภท ซึ่งเป็นเรื่องปกติที่เมื่อนักลงทุนให้ความสนใจต่อสินทรัพย์ใด ควรจะมีการศึกษาสินทรัพย์นั้น ๆ ให้เกิดความเข้าใจก่อนว่า คุ้มค่าและน่าลงทุนจริงหรือไม่ ซึ่งข้อมูลในบทความนี้จะช่วยให้ทุกคนสามารถเข้าใจและตัดสินใจได้ด้วยตัวเอง การแบ่งประเภทเพื่อการกำหนดราคาสินค้าโภคภัณฑ์                 สินค้าโภคภัณฑ์ (Commodity) คือ กลุ่มวัตถุดิบขั้นพื้นฐาน ที่มีความสำคัญในอุตสาหกรรมการผลิต เพื่อนำไปใช้ในการผลิตสินค้า ซึ่งในแวดวงการลงทุนจะแบ่งสินค้าโภคภัณฑ์ออกเป็น 2 กลุ่มด้วยกัน คือ Soft Commodities วัตถุดิบที่ได้จากการเพาะปลูก ที่ต้องเร่งแปรรูปเนื่องจากไม่สามารถเก็บเอาไว้ได้นาน เช่น อ้อย, ข้าว, ข้าวโพด, เมล็ดกาแฟ,